FAQ


FAQ – ในเวลา

ถาม – ตอบ

1. หลักสูตรปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์มีระยะเวลาจำกัดในการจบการศึกษาภายในเวลาเท่าไร

– สำหรับหลักสูตรปริญญาโทไม่เกิน 4 ปี หลักสูตรปริญญาเอก (ตรีไปเอก) 8 ปี (โทไปเอก) 5 ปี

2. ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาเรียนกี่ปี จึงจะจบการศึกษา

– ขึ้นอยู่กับการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตว่าสามารถทำได้เสร็จเร็วหรือช้า เนื่องจากการลงวิชาเรียน เพียงแค่ปีแรกเท่านั้น หลังจากนั้นทำวิจัยอย่างเดียว ส่วนใหญ่นิสิตจบในเวลา 2 ปีครึ่ง มีบางคนจบใน 2 ปี บางคน 3 ปี

3. หลักสูตรปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ของคณะวิทยาศาสตร์ ที่จุฬา กับที่วิทยาลัยปิโตรฯ นอกจากเรื่องภาษาแล้ว อยากทราบว่าวิชาที่เรียนนั้นเหมือนกันหรือไม่

– วิชาที่เรียนของหลักสูตรปิโตรฯที่จุฬาสอนเป็นภาษาไทยกับที่วิทยาลัยปิโตรฯ นั้นสอนเป็นภาษาอังกฤษไม่เหมือนกัน สามารถดูรายระเอียดรายวิชาได้ที่ website ของหลักสูตรและของวิทยาลัยเพื่อเปรียบเทียบ

4. หากไม่ได้จบเคมีโดยตรงสามารถเข้าเรียนในหลักสูตรนี้และสำเร็จได้หรือไม่

– นิสิตที่เข้าศึกษาในหลักสูตรฯมีหลายคน ที่ไม่ได้จบสาขาเคมีโดยตรง แต่เป็นวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ ก็สามารถเข้าศึกษาในหลักสูตรฯนี้ได้ โดยต้องเคยลงทะเบียนรายวิชาเกี่ยวกับเคมีไม่น้อยกว่า 12 หน่วย และนิสิตหลายคนก็สามารถศึกษาจนจบได้ อยู่ที่ความตั้งใจ

5. การรับสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรปิโตรเคมีฯ มีการจำกัดคณะและสาขาที่จบในระดับปริญญาตรีหรือไม่ อย่างไร

– มีการจำกัดคณะและสาขาวิชาที่จบดังนี้

– หลักสูตรในระดับปริญญาเอก
สำหรับผู้สำเร็จปริญญาบัณฑิต
1.1 สำเร็จปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตและได้รับเกียรตินิยมอันดับสองหรือเทียบเท่าขึ้นไป สาขาวิชาเคมี เคมีวิศวกรรม วัสดุศาสตร์ เคมีอุตสาหกรรม วิศวกรรมเคมีหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
1.2 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้
สำหรับผู้สำเร็จปริญญามหาบัณฑิต
2.1 สำเร็จปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หรือวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ เคมี เคมีเทคนิค วัสดุศาสตร์ เคมีอุตสาหกรรม วิศวกรรมเคมี หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.2 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯพิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้

– หลักสูตรในระดับปริญญาโท
1. ปริญญาโทในเวลาราชการ
1.1 สำเร็จปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม หรือสำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเคมี หรือ สำเร็จปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอื่นๆ
1.2 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้

6. จำนวนนิสิตที่รับแต่ละปี ประมาณเท่าใด

– นิสิตภาคในเวลาราชการ ปกติ จะรับประมาณ 90 คน ต่อปีการศึกษา

7. หลักสูตรฯ จะเพิ่มจำนวนนิสิตที่รับในแต่ละปีหรือไม่

– จะเพิ่มขึ้น เพราะมีศักยภาพที่จะรับเพิ่มได้ เพราะมีอาจารย์มากพอ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

8. ข้อสอบวิชาเคมี สำหรับภาคในเวลาราชการ ออกระดับไหน

– ผู้สมัครเข้าศึกษาควรเตรียมตัวดูหนังสือระดับปริญญาตรี เช่น ปี 3-4 ครอบคลุม เคมีทั่วไป 60% และเคมีอินทรีย์ 40% (ปรนัยและอัตนัย)

9. ค่าเล่าเรียน ประมาณเท่าไร

– ภาคในเวลาราชการ เหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 31,000 บาท

10. นิสิตต้องลงกี่หน่วยกิต

– ปริญญาโทภาคในเวลาราชการ
จำนวนหน่วยกิตรวมไม่ต่ำกว่า 36 หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาเรียน ไม่ต่ำกว่า 18 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 18 หน่วยกิต
– ปริญญาเอก
– หลักสูตรตรีไปเอก
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต แบ่งเป็นรายวิชาเรียน 24 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
– หลักสูตรโทไปเอก
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 60 หน่วยกิต แบ่งเป็นรายวิชาเรียน 12 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

11. หลักสูตรมีทุนการศึกษาสำหรับนิสิตหรือไม่

– มี เช่น ทุนยกเว้นค่าเล่าเรียน ทุนผู้ช่วยสอน (TA) หรือทุนอื่นๆ ดูใน website

12. หากไม่ได้ทุน TA จากหลักสูตรจะมีทุนอะไรบ้าง

– มีทุนที่ขอโดยตรงจากมหาวิทยาลัย เช่น ทุนอุดหนุนการศึกษา ทุน 72 พรรษา, ทุนนิสิตเก่าจุฬา

13. การทำวิทยานิพนธ์ จะเลือกเรื่องอย่างไร

– หลักสูตรฯ มีรายชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ ที่อาจารย์ในหลักสูตรฯ เสนอมา ให้นิสิตเลือก

14. นิสิตที่เลือกเรียนปิโตรเคมีสามารถจะทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับพอลิเมอร์ได้หรือไม่

– ได้ เพราะไม่จำกัดสาขา

15. หลักสูตรมีเงินช่วยค่าวิจัยวิทยานิพนธ์สำหรับนิสิตหรือไม่

– มี นิสิตแต่ละคน ได้รับเงินช่วยวิจัยคนละ 15,000 บาท ตลอดจนจบหลักสูตร (ให้ครั้งเดียว)

16. นิสิตสามารถหาเงินวิจัยได้จากที่ใดอีก

– นิสิตอาจหาเงินวิจัยโดยที่อาจารย์ที่ปรึกษาขอทุนวิจัยมาให้นิสิต หรือนิสิตขอทุนวิจัยโดยผ่านอาจารย์ จากหน่วยงานราชการที่ให้ทุนวิจัยต่างๆ

17. ลักษณะการเรียนการสอนเป็นอย่างไร

– นิสิตภาคในเวลาราชการ เรียนวันจันทร์-ศุกร์ เรียนแบบบรรยาย

18. การเรียนการสอนในปัจจุบันจำเป็นจะต้องเลือกระหว่างปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์หรือไม่

– หลักสูตรฯ มีหลักสูตรฯ เดียว ไม่ได้แยกสาขา

19. วิชาที่เรียนในหลักสูตรฯ มีเนื้อหาที่ยากหรือไม่ มีโอกาสได้เกรด A หรือไม่ และมีโอกาสได้ F รึปล่าว

– มีโอกาสได้ทุกเกรดขึ้นอยู่กับความใส่ใจในการเรียนของนิสิตแต่ละคน

20. ในวิชาสัมมนา ต้องพูดสัมมนาเป็นภาษาอะไร

– ระดับปริญญาโทพูดเป็นภาษาไทย ระดับปริญญาเอกพูดเป็นภาษาอังกฤษ

21. ทำไมจึงเรียกว่าหลักสูตรปิโตรเคมีฯ ทำไมไม่เรียกว่า ภาควิชาปิโตรเคมีฯ

– เนื่องจากสาขาวิชาปิโตรเคมีฯนี้ เปิดสอนเฉพาะในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตเท่านั้น ไม่มีเปิดสอนในระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาตรี) เนื่องจากเป็นหลักสูตรในลักษณะหลายภาควิชาร่วมกัน จึงเรียกว่าหลักสูตรปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์

22. ค่าเล่าเรียนในแต่ละปีเท่ากันหรือไม่

– เท่ากัน ตามเกณฑ์ของจุฬาฯ

23. ระยะเวลาเรียนระหว่างหลักสูตรนอกเวลาและในเวลาราชการเท่ากันหรือไม่

– เท่ากัน แต่เนื่องจากนิสิตภาคนอกเวลาราชการ คือ ทำงานด้วย เรียนด้วย โดยเฉลี่ยแล้ว จึงอาจใช้เวลานานกว่า นิสิตภาคในเวลาราชการ ซึ่งเรียนอย่างเดียว แต่ก็มีนิสิตบางคน ที่สามารถจบใน 2 ปีได้

24. หลักสูตรปิโตรเคมีฯ มีความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ใดบ้างในส่วนของการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

– ด้านการผลิต การพัฒนาวิจัย การตรวจสอบคุณภาพ ห้องแลบวิเคราะห์ การตลาด เทคนิคอลเซอร์วิส

25. มีคนเรียนไม่จบ จากหลักสูตรฯ บ้างหรือไม่

– มีน้อยมาก ส่วนใหญ่สามารถเรียนได้ปริญญา ที่มีปัญหาเรียนไม่จบ คือ มีภาระที่บ้าน

26. หากเรียนในหลักสูตรนี้ไม่สำเร็จ สามารถย้ายไปภาควิชาอื่นๆ ได้หรือไม่

– นิสิตต้องไปสมัครเข้าศึกษาใหม่ ในภาควิชาหรือคณะนั้นๆ เอง

27. หลักสูตรฯนอกเวลาราชการเรียนและทำวิทยานิพนธ์เหมือนกันกับหลักสูตรในเวลาหรือไม่

– หลักสูตรฯ ภาคนอกเวลาราชการ เปิดสำหรับคน ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานภาคเอกชนต่างๆ นิสิตเหล่านั้น จึงนำปัญหาของหน่วยงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์หรืออื่นๆ มาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานนั้นๆ แต่สำหรับนิสิตภาคในเวลาราชการ คือ นิสิตที่ไม่ได้ทำงาน แต่เรียนอย่างเดียว จึงมักทำวิจัยในหัวข้อที่อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำ หรือหัวข้อที่นิสิตสนใจอยากทำ

28. นิสิตที่จบในแต่ละปีมีจำนวนมาก สามารถได้งานทำตรงสายทั้งหมดหรือไม่

– ส่วนใหญ่ ตรง แต่อาจต้องใช้เวลารอจนได้งานที่ตรงและที่ชอบ โดยในช่วงแรก บางคน อาจลองทำงานที่ตอบรับเลย เช่น งาน technical หรืองานขาย ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนงาน แต่หลายคน ก็สามารถเข้าทำงานที่ตรงกับที่เรียนได้เลย ขึ้นกับความสามารถของนิสิตเองด้วย

29. งานวิจัยของหลักสูตรนี้มีเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง

– โปรดอ่านในเวบ หัวข้อวิทยานิพนธ์ของนิสิต

30. ถ้าหากได้ทำวิจัยไปแล้ว และพบว่าเป็นเรื่องที่เราไม่ชอบสามารถเปลี่ยนเรื่อง หรืออาจารย์ได้หรือไม่

– เปลี่ยนได้ แต่โควตาอาจารย์ที่นิสิตต้องการเลือกใหม่จะต้องมีโควตาเหลือในปีนั้นๆ

31. นิสิตมีโอกาสไปทำงานวิจัยต่างประเทศบ้างหรือไม่

– มีโอกาส ตามแต่อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านจะส่งนิสิตไป

32. งานวิจัยที่นิสิตทำ จำเป็นต้องได้ตีพิมพ์วารสารนานาชาติหรือไม่

– ในกรณีของนิสิตระดับปริญญาโทไม่จำเป็น เพียงแค่มี proceeding ในการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ แต่ในกรณีนิสิตระดับปริญญาเอกจะต้องมีตีพิมพ์วารสารระดับนานาชาติ

33. การแต่งกายของนิสิต ต้องแต่งกายอย่างไร

– แต่งกายสุภาพ ห้ามใส่เสื้อยืดกางเกงยีนต์ รองเท้าแตะ กระโปรงสั้น

34. หลักสูตรปิโตรเคมี มีห้องสมุดสำหรับค้นคว้าหรือไม่

– มีห้องสมุดอยู่ชั้น 11 ตึกมหามกุฏ

35. เมื่อนิสิตเลือกเรื่องอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์มีเกณฑ์อะไรในการเลือกนิสิต และอาจารย์แต่ละคนจะรับนิสิตจำนวนกี่คน

– เกณฑ์การเลือกนิสิตของอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่าน อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านจะเลือกนิสิตที่สนใจทำวิจัยที่อาจารย์แต่ละท่านถนัด อาจารย์แต่ละท่านสามารถรับนิสิตได้ไม่เกิน 2 คนในแต่ละปีการศึกษา

36. นอกจากวิชาที่เรียนในห้องเรียนแล้ว มีการพาไปศึกษานอกสถานที่หรือไม่

– มี เช่นพาไปดูบริษัทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทางปิโตรเคมีหรือพอลิเมอร์

37. หากต้องการสมัครเข้าศึกษาหลักสูตรปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์นี้จะต้องทำอย่างไร

– กรอกข้อมูลใบสมัครผ่านทางระบบ INTERNET ให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยสมัครได้ที่ http://www.grad.chula.ac.th (เมนู : การเข้าศึกษา) เลือกขั้นตอนการสมัคร

38. เอกสารประกอบการสมัคร มีอะไรบ้าง

1. ใบสมัครที่พิมพ์ได้จาก www.grad.chula.ac.th และติดรูปหรือ scan ลงในใบสมัคร พร้อมลงนามให้เรียบร้อย
2. ใบแจ้งการชำระเงินที่มีลายเซ็นต์เจ้าหน้าที่ธนาคาร และวันที่ชำระเงิน
3. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ 1 ฉบับ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
4. สำเนา Transcript 1 ฉบับ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
5. สำเนาผลสอบภาษาอังกฤษ (CU-TEP , TOEFL , IELT)

39. ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการสมัครเท่าไหร่ อย่างไร

– ภาคในเวลาราชการต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการสมัครผ่านธนาคาร จำนวนเงิน 500 บาท ได้ที่ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขาทั่วประเทศ

40. เมื่อมีหลักฐานเรียบร้อยแล้วต้องทำอย่างไรต่อ

– ส่งเอกสารตามที่กำหนดทั้งหมดทางไปรษณีย์ที่ งานบริการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ซึ่งต้องส่งภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น และจะดูวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ

41. ในระดับปริญญาเอกนิสิตต้องสอบ Qualified exam ให้ผ่านภายในระยะเวลาเท่าไหร่

– ภายในระยะเวลา 2 ปีการศึกษา

42. ถ้าหากนิสิตได้ GPA ต่ำกว่า 3.00

– ได้ต่ำกว่า 3.00 ครั้งที่ 1 คือ โดนภาคฑัณท์ ครั้งที่ 1
– ได้ต่ำกว่า 3.00 2 ภาคการศึกษา ติดต่อกัน คือ พ้นสภาพการเป็นนิสิต

43. ผู้สมัครจะต้องมีคะแนน CU-TEP เท่าไร

– ผู้สมัครปริญญาโท จะต้องได้คะแนน CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 400
– ผู้สมัครปริญญาเอก จะต้องได้คะแนน CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 450

FAQ – นอกเวลา

ถาม – ตอบ

1. หลักสูตรปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์มีระยะเวลาจำกัดในการจบการศึกษาภายในเวลาเท่าไร

– สำหรับหลักสูตรปริญญาโทไม่เกิน 4 ปี

2. ส่วนใหญ่ ต้องใช้เวลาเรียนกี่ปี จึงจะจบการศึกษา

– ขึ้นอยู่กับการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตว่าสามารถทำได้เสร็จเร็วหรือช้า เนื่องจากการลงวิชาเรียนเพียงแค่ปีแรกเท่านั้น หลังจากนั้นทำวิจัยอย่างเดียว ส่วนใหญ่นิสิตจบในเวลา 2 ปีครึ่ง มีบางคนจบใน 2 ปี บางคน 3 ปี

3. หลักสูตรปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ของคณะวิทยาศาสตร์ ที่จุฬา กับที่วิทยาลัยปิโตรฯ นอกจากเรื่องภาษาแล้ว อยากทราบว่าวิชาที่เรียนนั้นเหมือนกันหรือไม่

– วิชาที่เรียนของหลักสูตรปิโตรฯที่จุฬากับที่วิทยาลัยปิโตรฯ นั้นไม่เหมือนกัน สามารถดูรายระเอียดรายวิชาได้ที่ website ของหลักสูตรและของวิทยาลัยเพื่อเปรียบเทียบ

4. การรับสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรปิโตรเคมีฯมีการจำกัดคณะและสาขาที่จบในระดับปริญญาตรีหรือไม่ อย่างไร

– มีการจำกัดคณะและสาขาวิชาที่จบดังนี้

1.1 สำเร็จปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม หรือสำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเคมี
1.2 ทำงานที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
1.3 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้

5. การรับสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรปิโตรเคมีฯ มีการเปิดรับสมัครในช่วงเวลาประมาณใด

– การรับสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ได้เปิดรับสมัครปีละ 2 ครั้ง แบ่งเป็นภาคต้น กำหนดการเปิดรับสมัครในช่วง ตุลาคม-มีนาคม ภาคปลาย เปิดรับสมัครประมาณ เดือนสิงหาคม

6. จำนวนนิสิตที่รับแต่ละปี ประมาณเท่าใด

– นิสิตภาคนอกเวลาราชการ ปกติจะรับประมาณ 40 คน ต่อปีการศึกษา

7. การสอบคัดเลือกเข้าศึกษา ต้องสอบวิชาอะไร

– ภาคนอกเวลาราชการ สอบข้อเขียน วิชาเคมีพื้นฐานที่เกี่ยวกับปิโตรเคมี สอบสัมภาษณ์

8. วิชาเคมีที่เกี่ยวกับปิโตรเคมี สำหรับภาคนอกเวลาราชการ ออกระดับไหน

– ผู้สมัครเข้าศึกษาควรเตรียมตัวดูหนังสือระดับปริญญาตรี โดยเน้นเคมีพื้นฐานปิโตรเคมี

9. ค่าเล่าเรียนประมาณเท่าไร

– ภาคนอกเวลาราชการ แบ่งเป็นค่าเล่าเรียน ภาคการศึกษาละ 31,000 บาท ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคการศึกษาละ 30,000 บาท

10. นิสิตต้องลงกี่หน่วยกิต

– ปริญญาโทภาคนอกเวลาราชการ จำนวนหน่วยกิตรวมไม่ต่ำกว่า 36 หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาเรียน ไม่ต่ำกว่า 18 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 18 หน่วยกิต

11. หลักสูตรมีเงินช่วยค่าวิจัยวิทยานิพนธ์สำหรับนิสิตหรือไม่

– มี นิสิตแต่ละคนจะได้รับเงินช่วยวิจัยคนละ 15,000 บาท ตลอดจนจบหลักสูตร (ให้ครั้งเดียว)

12. นิสิตที่เลือกเรียนปิโตรเคมีสามารถจะทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับพอลิเมอร์ได้หรือไม่

– ได้ เพราะไม่จำกัดสาขา

13. การทำวิทยานิพนธ์ จะเลือกเรื่องอย่างไร

– ทำวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานที่บริษัท

14. ทำไมจึงเรียกว่าหลักสูตรปิโตรเคมีฯ ทำไมไม่เรียกว่า ภาควิชาปิโตรเคมีฯ

– เนื่องจากสาขาวิชาปิโตรเคมีฯนี้ เปิดสอนเฉพาะในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต เท่านั้น ไม่มีเปิดสอนในระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาตรี) เนื่องจากเป็นหลักสูตรในลักษณะหลายภาควิชาร่วมกัน จึงเรียกว่าหลักสูตรปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์

15. เมื่อนึกถึงหลักสูตรปิโตรเคมีฯจะต้องนึกถึงงานทดลองหรืองานวิจัยเกี่ยวกับน้ำมัน นอกจากนี้จะมีงานวิจัยในด้านใดอีกบ้าง

– การศึกษาพื้นผิวของสาร เช่น สารเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เคมี งานวิจัยด้านยาง พอลิเมอร์ การเปลี่ยนรูปพลาสติกใช้แล้วเป็นน้ำมัน การใส่ marker ในน้ำมัน เพื่อตรวจสอบแหล่งผลิต ป้องกันน้ำมันเถื่อน และอื่นๆ ดูรายละเอียดที่ website หัวข้อวิทยานิพนธ์ของนิสิตได้

16. หากต้องการเรียนภาคนอกเวลาราชการ นิสิตสมารถเข้าไปทำ lab ที่มหาวิทยาลัยได้หรือไม่

– นิสิตภาคนอกเวลาราชการ ทำวิจัยที่หน่วยงานตัวเอง

17. หลักสูตรปิโตรเคมีฯ มีความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ใดบ้างในส่วนของการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

– ด้านการผลิต การพัฒนาวิจัย การตรวจสอบคุณภาพ ห้องแลบวิเคราะห์ การตลาด เทคนิเคิลเซอร์วิส

18. ทำอย่างไรให้จบได้เร็ว

– นิสิตภาคนอกเวลาราชการ ควรทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ทำงานของตนเอง เพราะโอกาสพบปะกับอาจารย์จะไม่มากเท่านิสิตภาคในเวลาราชการ จึงเป็นอุปสรรคและสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จบช้ากว่านิสิตภาคในเวลาราชการ

19. ลักษณะการเรียนการสอนเป็นอย่างไร

– นิสิตภาคนอกเวลา เรียนเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ทั้งวันแบบบรรยาย

20. หลักสูตรฯ จะเพิ่มจำนวนนิสิตที่รับในแต่ละปีหรือไม่

– จะเพิ่มขึ้น เพราะมีศักยภาพที่จะรับเพิ่มได้ เพราะมีอาจารย์มากพอ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

21. มีคนเรียนไม่จบ จากหลักสูตรฯ บ้างหรือไม่

– มีน้อยมาก ส่วนใหญ่สามารถเรียนได้ปริญญา ที่มีปัญหาเรียนไม่จบ คือ มีภาระที่บ้าน

22. หากไม่ได้จบเคมีโดยตรงสามารถเข้าเรียนในหลักสูตรนี้ และสำเร็จได้หรือไม่

– นิสิตที่เข้าศึกษาในหลักสูตรฯ มีหลายคน ที่ไม่ได้จบสาขาเคมีโดยตรง แต่เป็นวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ ก็สามารถเข้าศึกษาในหลักสูตรฯ นี้ได้ โดยต้องเคยลงทะเบียนรายวิชาเกี่ยวกับเคมี ไม่น้อยกว่า 12 หน่วย และนิสิตหลายคนก็สามารถศึกษาจนจบได้ อยู่ที่ความตั้งใจ

23. หากเรียนในหลักสูตรนี้ไม่สำเร็จ สามารถย้ายไปภาควิชาอื่นๆ ได้หรือไม่

– นิสิตต้องไปสมัครเข้าศึกษาใหม่ ในภาควิชาหรือคณะนั้นๆ เอง

24. หลักสูตรฯนอกเวลาราชการเรียนและทำวิทยานิพนธ์เหมือนกันกับหลักสูตรในเวลาหรือไม่

– หลักสูตรฯ ภาคนอกเวลาราชการ เปิดสำหรับคน ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานภาคเอกชนต่างๆ นิสิตเหล่านั้น จึงนำปัญหาของหน่วยงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์หรืออื่นๆ มาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานนั้นๆ แต่สำหรับนิสิตภาคในเวลาราชการ คือ นิสิตที่ไม่ได้ทำงาน แต่เรียนอย่างเดียว จึงมักทำวิจัยในหัวข้อที่อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำ หรือหัวข้อที่นิสิตสนใจอยากทำ

25. การเรียนการสอนในปัจจุบันจำเป็นจะต้องเลือกระหว่างปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์หรือไม่

– หลักสูตรฯ มีหลักสูตรฯ เดียว ไม่ได้แยกสาขา

26. นิสิตที่จบในแต่ละปีมีจำนวนมาก สามารถได้งานทำตรงสายทั้งหมดหรือไม่

– ส่วนใหญ่ ตรง แต่อาจต้องใช้เวลารอจนได้งานที่ตรงและที่ชอบ โดยในช่วงแรก บางคน อาจลองทำงานที่ตอบรับเลย เช่น งาน technical หรืองานขาย ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนงาน แต่หลายคน ก็สามารถเข้าทำงานที่ตรงกับที่เรียนได้เลย ขึ้นกับความสามารถของนิสิตเองด้วย

27. ค่าเล่าเรียนในแต่ละปีเท่ากันหรือไม่

– เท่ากัน ตามเกณฑ์ของจุฬาฯ

28. ระยะเวลาเรียนระหว่างหลักสูตรนอกเวลาและในเวลาราชการเท่ากันหรือไม่

– เท่ากัน แต่เนื่องจากนิสิตภาคนอกเวลาราชการ คือ ทำงานด้วย เรียนด้วย โดยเฉลี่ยแล้ว จึงอาจใช้เวลานานกว่า นิสิตภาคในเวลาราชการ ซึ่งเรียนอย่างเดียว แต่ก็มีนิสิตบางคน ที่สามารถจบใน 2 ปีได้

29. งานวิจัยของหลักสูตรนี้มีเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง

– โปรดอ่านในเวบ หัวข้อวิทยานิพนธ์ของนิสิต

30. วิชาที่เรียนในหลักสูตรฯ มีเนื้อหาที่ยากหรือไม่ มีโอกาสได้เกรด A หรือไม่ และมีโอกาสได้ F รึปล่าว

– มีโอกาสได้ทุกเกรดขึ้นอยู่กับความใส่ใจในการเรียนของนิสิตแต่ละคน

31. ในวิชาสัมมนา ต้องพูดสัมมนาเป็นภาษาอะไร

– ระดับปริญญาโทภาษาไทย

32. งานวิจัยที่นิสิตทำ จำเป็นต้องได้ตีพิมพ์วารสารนานาชาติหรือไม่

– ในกรณีของนิสิตระดับปริญญาโทไม่จำเป็น เพียงแค่มี proceeding ในการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ

33. การแต่งกายของนิสิต ต้องแต่งกายอย่างไร

– แต่งกายสุภาพ ห้ามใส่เสื้อยืดกางเกงยีนต์ รองเท้าแตะ กระโปรงสั้น

34. หลักสูตรปิโตรเคมี มีห้องสมุดสำหรับค้นคว้าหรือไม่

– มีห้องสมุดอยู่ ชั้น 11 ตึกมหามกุฏ

35. เมื่อนิสิตเลือกเรื่องอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์มีเกณฑ์อะไรในการเลือกนิสิต และอาจารย์แต่ละคนจะรับนิสิตจำนวนกี่คน

– เกณฑ์การเลือกนิสิตของอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่าน อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านจะเลือกนิสิตที่สนใจทำวิจัยที่อาจารย์แต่ละท่านถนัด อาจารย์แต่ละท่านสามารถรับนิสิตได้ไม่เก%